เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
3. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็เช่น
นั้น ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
4. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็
เช่น นั้น ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่1

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[700] บรรดาอัปปมัญญา 4 อัปปมัญญาเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

1. ติกมาติกาวิสัชนา
1-22. กุสลติกาทิวิสัชนา
[701] อัปปมัญญา 4 ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
อัปปมัญญา 3 สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อุเบกขาสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
อัปปมัญญา 4 ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. 11/308/200, ม.มู. 12/438/385, อภิ.วิ.35/699/346

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :442 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [13.อัปปมัญญาวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา 4 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
อัปปมัญญา 4 กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัปปมัญญา
3 ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
อุเบกขาไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
อัปปมัญญา 3 ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี แต่ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขา ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา
อัปปมัญญา 4 ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
อัปปมัญญา 4 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
อัปปมัญญา 4 ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี
อัปปมัญญา 4 ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
อัปปมัญญา 4 เป็นมหัคคตะ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา 4 เป็นชั้นกลาง
อัปปมัญญา 4 ให้ผลไม่แน่นอน กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี
อัปปมัญญา 4 ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
อัปปมัญญา 4 ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว
ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์
อัปปมัญญา 4 ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายใน
ตนและภายนอกตนก็มี
อัปปมัญญา 4 มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา 4 เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :443 }